วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

อูคูเลเล่ กับครูไอซ์ ปากช่อง




ประวัติฟามเป็นมาของ "อูคูเลเล่ ก่อนมาประเทศไทย"
"ชนใด ไม่มี ดนตรีกาล.. ในสันดาน เป็นคนชอบ..กลนัก"  หนึ่งในบทเพลงพระราชนิพนธ์ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพล อดุลยเดช.
“Ukulele” เป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งที่เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองของชาวฮาวายเฮี้ยนค่ะ ซึ่งแน่นอนอยู่แล้วว่าไม่ใช่ เครื่องดนตรีสมัยใหม่แน่ๆ “Ukulele”เป็นเครื่องดนตรีที่มีมาตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 19 แล้ว โดยมีต้นกำเนิดจากการที่ชาวพื้นเมือง ในฮาวาย ที่ใช้วิชาครูพักลักจำ ประดิษฐ์เครื่องดนตรีเลียนแบบเครื่องดนตรีคล้ายกีตาร์ นามว่า “Cavaquinho” เป็นภาษาโปรตุเกส ซึ่งชาวโปรตุเกสขนมาเล่นให้ชาวฮาวายได้ฟังกันค่ะ ต้องขอบคุณชาวโปรตุเกส ที่อุตส่าห์หอบเอาเจ้าเครื่องดนตรีนี้ ข้ามน้ำข้ามทะเลมา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้น ที่ทำให้ชาวฮาวายเฮี้ยนนำเอาเครื่องดนตรีชนิดนี้มาประยุกต์ จนมีชื่อเสียงไปทั่วโลกในปัจจุบันนี้ค่ะ

“Ukulele” นั้น ชาวเกาะเรียกกันห้วนๆ ว่า “หมัดกระโดด” ซึ่งน่าจะมาจากลักษณะของนิ้วผู้เล่น ที่ต้องสลับที่กดเด้งไปมาบนคอ “Ukulele” ที่ดูแบบมีศิลปะ และคล้ายกับตัวหมัดกำลังกระโดดไปมาบนทุ่งหญ้า ส่วนอีกศาสตร์กล่าวว่า “Ukulele” เป็นภาษาฮาวายเอี้ยน ความหมายของคำว่า “Ukulele” ถูกแยกเป็นสองคำคือ “uku” ซึ่งแปลว่า “ของขวัญหรือรางวัล” ส่วนคำว่า “lele” แปลว่า “การได้มา” ดังนั้นเมื่อนำสองคำนี้มารวมกัน จึงแปลความหมายได้ว่า “ของขวัญที่ได้มา” (จากชาวโปรตุเกส) ส่วนการออกเสียงนั้น หากออกเสียงเรียกแบบคนอเมริกัน เขาเรียกว่า “ยู คะ เล ลี่” ชาวฮาวายเอี้ยน เรียกมันว่า “อู คู เล่ เล่” ส่วนนักดนตรีสมัยใหม่ขี้เกียจพูดยาว ตั้งชื่อเล่นให้มันสั้นๆ ว่า “อู๊ค” ไม่ว่าจะเรียกอย่างไรก็ตาม ล้วนเป็นเครื่องดนตรีชิ้นเดียวกันหมด


นอกจากจะมีหลายชื่อแล้วเจ้า “Ukulele” ก็มีหลายขนาดเหมือนกันค่ะ ขนาดของมันเริ่มตั้งแต่ soprano ซึ่งเป็นขนาดดั้งเดิม ที่เหมาะสำหรับใช้เล่นตีคอร์ดสนุกสนานค่ะ ตามด้วย concert ที่คอยาวขึ้นเพื่อใช้เล่นแบบ fingerstyle ต่อด้วย tenor ที่ขนาดใหญ่ขึ้นมาอีกขั้น พร้อมเฟร็ตที่มากขึ้น และเสียงที่ทุ้มกังวาลกว่า ปิดท้ายด้วย baritone ที่ใหญ่ที่สุด และตั้งเสียงไม่เหมือนขนาดอื่นค่ะ (ตั้งเสียงแบบสี่สายล่างของกีตาร์ปกติ)

ในช่วงแรกนั้น “Ukulele” เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้สำหรับบรรเลงเพลงฮาวายเอี้ยนขับกล่อมชาวเกาะให้ครื้น เครง โดยมีพระราชาชาวเกาะ King David Kalakaua เป็นผู้สนับสนุนใหญ่ จนใครๆ ในเกาะก็พากันเล่นเจ้าเครื่องดนตรีชนิดนนี้กันคะ จากนั้นตั้งแต่ช่วงก่อนสงครามโลก ครั้งที่สอง “Ukulele” ก็เริ่มมีคนรู้จักมากขึ้น และเนื่องจากขนาดอันกะทัดรัดและราคาที่ไม่แพง มันเปลี่ยนสถานะจากเครื่องดนตรีพื้นเมืองกลายเป็นเครื่องดนตรีสากล มีนักดนตรีจาก แผ่นดินใหญ่อเมริกานำมาเล่นกันหลากหลายแนวค่ะ ไม่เว้นแม้แต่ศิลปิน Jazz ความโดดเด่นในวงการเพลงของมันมาถึงจุดสุดยอดในช่วงยุค 60″s ก่อนที่ความนิยมจะเริ่มซาหายไปตามกาลเวลา จนเมื่อช่วงปลายยุค 90″s นี้เอง ที่ “Ukulele” กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งค่ะ เมื่อ Jake Shimabukuro มือ Ukulele หนุ่มน้อยเชื้อสายญี่ปุ่น-ฮาวาย นำมันมาบรรเลงเพลงร่วมสมัยด้วย ลีลามากลวดลายน่าทึ่ง จนได้รับสมญานามว่าเป็น อัจฉริยะUkulele และศิลปิน Israel Kamakawiwo’ole (IZ) นักดนตรีจากเกาะฮาวาย ด้วยเอกลักษณ์ตัวอ้วนใหญ่คล้ายกับยักษ์ แต่เลือกที่จะเล่น Ukulele ตัวจิ๋วเป็นเครื่องดนตรีคู่กาย IZ จึงได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก กระแส IZ จึงเกิดมาพร้อมกับ Ukulele เพลงของ IZ ยังถูกไปใช้เป็นเพลงประกอบหนังอยู่เป็นระยะๆ IZ ได้ร้องและเล่นบทเพลง “Over the Rainbow/What a Wonderful World” ซึ่งทำให้ผู้คนเริ่มหลงเสน่ห์ในเสียงของ ukulele เข้าอย่างจัง
ที่มา http://ukulele.lanlah.com/

กับครูไอซ์ ก็เป็นอีกที่หนึ่งที่เราสามารถจะหาความรู้เรื่องการหัดเล่น อูคูเลเล่ได้ ก็ถ้าน้องๆว่างหลังเลิกเรียนก็มาที่ โฮมทาวน์ปากช่องได้นะครับให้ผู้ปกครองพามาก็ได้ถ้ามาเองไม่ได้ครูไอซ์สอนฟรีครับแต่กีตาร์ อูคูเลเล่ ต้องนำมาด้วยนะครับ ถ้าไม่มีก็มาหาความรู้ได้ก่อนครับ อยู่ชั้นสอง โฮมทาวน์ อ.ปากช่องตรงข้ามในท์บาร์ซ่า








เพาเวอร์แบนด์2007 กับงานกาแฟมอคโคนาที่เขาใหญ่


อยากเล่นเก่งต้องมุ่งมั่นและตั้งใจนะครับ"แบบนี้"

ต้องต้งสายก่อน
ครูไอซ์ของเราครับ

แจกแล้วก็ต้องถ่ายรู "เอ๊ยะ ถ่ายรูปซักหน่อย"

อูคูเลเล่นั้นมี 3 ขนาดนะครับก่อนซื้อก็มาลองดูก่อนได้นะครับว่าเราเหมาะกับขนาดไหน เล็ก กลาง หรือใหญ่